ดื่มน้ำอัดลมระวังกรดอันตรายที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกาย น้ำอัดลมขจัดคราบเปื้อนตามสุขภัณฑ์ได้ ใช้ล้างสนิมก็ได้ แต่ค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 3 (pH 3) เป็นอันตรายต่อร่างกายและใช้ทำความสะอาดได้จริงหรือไม่ มาทำความเข้าใจส่วนประกอบของน้ำอัดลมและรู้จักอันตรายตัวจริงที่แฝงตัวอยู่กับน้ำอัดลม เพื่อการดื่มน้ำอัดลมได้อย่างชื่นใจและปลอดภัย คำตอบโดย รศ.ดร.พลังพล คงเสรี นักวิจัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่ม “น้ำอัดลม” เป็นประจำ
1. โรคเบาหวาน และภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
อย่างที่เกริ่นไปว่า น้ำอัดลมอุดมไปด้วยน้ำตาล แต่ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งอย่างละเอียดว่า หากดื่มน้ำอัดลมกระป๋องขนาด 325 ซีซี เท่ากับคุณทานน้ำตาลเข้าไป 8-12 ก้อน หรือ 12 ช้อนชา ในขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เราทานน้ำตาลได้เพียงวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น แต่เฉลี่ยแล้วคนไทยทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากถึง 27 ช้อนชาต่อวัน และเกือบครึ่งหนึ่งมาจากน้ำอัดลมเพียงกระป๋องเดียว ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อร่างกายในการรับปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันมากเกินไป จนรบกวนการทำงานของระบบการผลิตอินซูลิน และทำให้เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา
2. ฟันผุ
น้ำอัดลมมีส่วนประกอบสำคัญคือ น้ำหวานแต่งสี และอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายลงไปในน้ำ จะทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก (Carbonic Acid) ทำให้น้ำอัดลมมีฤทธิ์เป็นกรดพอๆ กันกับน้ำส้มคั้น หรือน้ำมะนาว (pH เท่ากับ 3) ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ส่งผลให้ฟันถูกกัดกร่อนจากฤทธิ์ของกรดอ่อนๆ มากขึ้น ยิ่งน้ำอัดลมมีส่วนผสมเกือบ 1 ใน 10 ที่เป็นน้ำตาลด้วยแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าหากดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป แล้วไม่ทำความสะอาดฟันให้ดีพอ อาจมีความเสี่ยงต่ออาการฟันผุ ฟันกร่อนได้
3. โรคกระดูกพรุน
หากน้ำอัดลมที่คุณดื่มมีปริมาณของกรดฟอสฟอริก (Phosphoric) อยู่มาก หากทำให้ผู้ที่ดื่มเป็นเวลานานมี่ความเสี่ยงต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เนื่องจากกรดนี้จะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมจนทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ภาวะกระดูกบาง มวลกระดูกน้อยอย่างผู้สูงอายุ
4. โรคหัวใจ
การดื่มน้ำอัดลมเป็นปริมาณมากๆ หรือดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระดับไขมันในหลอดเลือดหัวใจ เกิดการอักเสบ และเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความอิ่มในทางที่ไม่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
หากต้องการลดความอยากดื่มน้ำอัดลม ขอให้ค่อยๆ เปลี่ยนเครื่องดื่มโดยเลือกระดับความหวานที่น้องลงมาเรื่อยๆ เช่น จากน้ำอัดลมเป็นน้ำหวาน ชาเย็น ชาเขียว น้ำผลไม้ 100% ไปจนถึงน้ำเปล่า หากชอบความซาบซ่าของน้ำอัด ให้ลองผสมโซดากับสารแต่งรสที่ไม่มีแคลอรี่ นอกจากน้ำอัดลมแล้ว เราควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานอื่นๆ ด้วย และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
1. โรคเบาหวาน และภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
อย่างที่เกริ่นไปว่า น้ำอัดลมอุดมไปด้วยน้ำตาล แต่ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งอย่างละเอียดว่า หากดื่มน้ำอัดลมกระป๋องขนาด 325 ซีซี เท่ากับคุณทานน้ำตาลเข้าไป 8-12 ก้อน หรือ 12 ช้อนชา
1. โรคเบาหวาน และภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
อย่างที่เกริ่นไปว่า น้ำอัดลมอุดมไปด้วยน้ำตาล แต่ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งอย่างละเอียดว่า หากดื่มน้ำอัดลมกระป๋องขนาด 325 ซีซี เท่ากับคุณทานน้ำตาลเข้าไป 8-12 ก้อน หรือ 12 ช้อนชา