ที่ความสูง 8,850 เหนือระดับน้ำทะเล โชโมลังมา หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภูเขาเอเวอเรสต์ มีความสูงมากที่สุดในโลก แต่โครงสร้างที่ตั้งตระหง่านนี้สูงขนาดนี้ได้อย่างไร เพื่อหาคำตอบ มิเชล คอปปส์ มองลึกลงไปใต้เปลือกโลกที่ซึ่งแผ่นทวีปชนกัน
ยอดเขาเอเวอเรสต์ (อังกฤษ: Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต
ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอส (Global Positioning System) แล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาใหม่ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปี จึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลก (Tectonic plate) ยังคงชนกันอยู่
d