โครงการ "โรงเรียนปลายข้าว" ที่มีต้นแบบแห่งแรกอยู่ที่ รร.เทศบาลวัดนางลาด จ.พัทลุง นี้ เกิดขึ้นจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงศึกษาธิการ และเทศบาลเมือง จ.พัทลุง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หวังจะผลักดันให้ "โรงเรียนปลายข้าว" เป็นต้นแบบโรงเรียนนอกระบบที่มีการจัดระเบียบคำสอนตามหลักสัจธรรมความเป็นจริง อันหมายถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบ ด้วยการหนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน
การเรียนที่โรงเรียนปลายข้าวก็จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป ตรงที่เน้นการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ประสบการณ์ชีวิตจริงตามแต่ละสาระ และเน้นความรู้หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งการเรียนสามารถปรับบทเรียนตามความต้องการ เพื่อให้เหมาะกับเวลาที่เด็กแต่ละคนสะดวก ภายใต้ความคิดที่เชื่อมั่นว่าการสร้างเด็กดี แม้อาจเรียนไม่เก่ง แต่พวกเขาจะต้องไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน
"เด็กที่มาเรียนเป็นเด็กยากจน เรียนแบบครึ่งๆ กลางๆ พ่อแม่ไม่มีเวลา พอออกจากโรงเรียนแล้วต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ช่วยแบกรับภาระครอบครัว ซึ่งการเรียนที่โรงเรียนปลายข้าวนี้จะจัดหลักสูตรการเรียนให้เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้กับพวกเขาที่สังคมอาจมองว่าไม่มีค่า ซึ่งคำว่าปลายข้าวในที่นี้จึงเหมือนกับการเปรียบเทียบคนกับข้าว ปลายหรือข้าวหักก็เหมือนข้าวไม่เต็มเมล็ด แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็คือข้าวที่มีคุณค่าเช่นกัน การที่เด็กเปรียบเสมือนปลายข้าวจึงเหมือนผู้ป่วยที่ต้องการการแก้ไขให้กลับมาสมบูรณ์และอยู่ร่วมกับสังคมได้"
โรงเรียนปลายข้าว หน้าที่ของครูไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน
โรงเรียนปลายข้าว หน้าที่ของครูไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน
โรงเรียนปลายข้าว หน้าที่ของครูไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน
โรงเรียนปลายข้าว หน้าที่ของครูไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน