เมื่อออกกําลังกายต่อเนื่องเพื่อสุขภาพที่ดีควรออกกําลังกาย อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์10 นาทีขึ้นไป
ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอนี้ เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรโลกถึงร้อยละ 5.5 หรือประมาณ 3.2 ล้านคนต่อปีจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่างๆ เบาหวาน รวมถึงโรคปอดและทางเดินหายใจ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)หมายถึง “การเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ลักษณะการเคลื่อนไหว ความหนักความเหนื่อย ตัวอย่าง
1.ระดับเบา
2.ระดับปานกลาง
3.ระดับหนัก
ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การมี พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ที่มีต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งการนั่งทำงาน และนั่งเรียนหนังสือ จะทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ ระบบการดูดซึมและย่อยอาหารมีประสิทธิภาพน้อยลง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคได้ในที่สุด
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก ประมาณ 1 ใน 4 ยังมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ คือ น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่ออกแรงน้อย ไม่ได้ทำให้รู้สึกเหนื่อย สามารถเคลื่อนไหวไปพร้อมกับร้องเพลงไปด้วยได้อย่าสบายๆหายใจได้ปกติการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การขยับ การยืนลุกนั่ง การเดินระยะทางสั้นๆ การเคลื่อนไหวออกแรง ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความหนัก และเหนื่อยในระดับเดียวกับการเดินเร็วมีระดับชีพจร 120-150 ครั้งต่อนาที ระหว่างที่เคลื่อนไหวยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ และมีเหงื่อซึมๆขี่จักรยานเพื่อการสัญจรทำงานบ้าน เดินขึ้นบันได วิ่งจ๊อกกิ้ง การเคลื่อนไหวที่ใช้กล้ามเนื้อ มัดใหญ่ และใช้พละกำลังมากก่อให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยหอบและมีเหงื่อออกมากมีระดับชีพจร 150 ครั้งขึ้นไปต่อนาที ทำแล้วเหนื่อยหอบ จนพูดเป็นประโยคไม่ได้ ขี่จักรยานเพื่อการออกกำลังกาย วิ่งออกกำลังกาย เล่นกีฬา เด็ก อายุ 6-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง และระดับหนัก สะสมอย่างน้อย 420 นาที/สัปดาห์ หรือสะสมอย่างน้อยวันละ 60 นาที ผู้ใหญ่ อายุ 18-64 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง สะสมอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือระดับหนัก สะสมอย่างน้อย 75 นาที/สัปดาห์ ผู้สูงอายุ อายุ 64 ปีขึ้นไป ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง สะสมอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
ควบคู่กับการทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการยืดหยุ่นควบคู่ไปด้วย
1.การทำงาน (Work Related PA) : การออกแรงในการทำงานในรูปแบบต่างๆ
คำแนะนำ : หากงานในอาชีพของคุณส่วนใหญ่มีลักษณะการทํางานแบบนั่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ลองหาช่วงเวลาพัก ลุกขึ้นมาขยับเคลื่อนไหว ยืดเหยียดร่างกาย เป็นระยะๆ ทุกๆ ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 10 นาที
2.การเดินทาง (Transportation) : การเดินทางที่ใช้การเดินเท้า หรือการขี่รถจักรยาน เป็นเวลาตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป
คำแนะนำ : หากการเดินทางของคุณในแต่ละวัน เป็นการนั่งรถเป็นหลัก ลองปรับมาเพิ่มการเดินขึ้นบันได แทนการขึ้นลิฟต์ เลือกการเดินเท้า หรือขี่จักรยานให้มากขึ้น แทนการนั่งรถ
3.การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ (Recreation & Sport) : กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ
คำแนะนำ : ในวันหยุด และช่วงเวลานอกเหนือจากงาน สามารถหากิจกรรม ที่คุณสนใจทํา เพื่อให้ได้เคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น เต้น ไปเดินช็อปปิ้ง พาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น เล่นกีฬา ออกกําลังกายต่าง ๆ แทนกิจกรรม ที่อยู่หน้าจอ อย่างนั่งดูทีวี ดูมือถือ หรือเล่นเกม เวลาที่เหมาะสมในการมีกิจกรรมทางกายของแต่ละช่วงวัย
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาที ขึ้นไป พลังงานที่ใช้ระหว่างออกกำลังกาย ไกลโคเจน “พลังฮึดได้แต่ไม่นาน” ไกลโคเจนนั้น ร่างกายสร้างมาจากกลูโคส แล้วมาเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายต้อง ใช้แรงอย่างหนักเป็นเวลา 20 วินาที - 3 นาที ก็จะได้พลังงานนี้มาจากการสลายไกลโคเจน ที่อยู่ในกล้ามเนื้อ วิธีนี้ใช้ออกซิเจนน้อย จึงใช้เวลาในการสร้างพลังงานเร็วมาก หากใช้พลังงานถึงนาที ที่ 4-5 ก็จะเริ่มผ่อนลง เพื่อเก็บกลูโคสไว้ให้สมองใช้ ซึ่งการได้มาของ พลังงานในส่วนนี้ อาจส่งผลให้ร่างกายเกิด กรดแลคติกขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าขึ้น เรื่อยๆ จนถึงขั้นเป็นตะคริวได้
ไขมัน “พลังไม่หนักแต่นาน” ถ้าใช้กำลังนานถึง 8 -10 นาทีขึ้นไป ในขณะที่พลังงานจากแหล่งอื่น ๆ ลดลง ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปใช้ไขมันในร่างกาย เป็นหลัก ซึ่งพลังงานในส่วนนี้่ได้มาจาก การเผาผลาญไขมัน ซึ่งมีมากเพียงพอ จึงใช้พลังงานได้เต็มที่ เป็นเหตุผลที่เรา ส่งเสริมให้คนออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป ไม่ควรว่ิงๆ หยุดๆ เพราะ ร่างกายจะกลับไปใช้-พลังงานจากเซลล์ และไกลโคเจนเสมอ ไม่ได้่ใช้ไขมันเสียที ซึ่งเป็นกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง เช่น จ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นประกอบเพลง ใช้เครื่องออกกำลังในฟิตเนส เลือกออกกำลังกายอะไรก็ได้ที่คุณชอบ แต่ถ้าเวลาและสถานที่ไม่อำนวย ก็ใช้ท่าออกกำลังกายในพื้นที่จำกัด เช่น แกว่งแขน ย่ำเท้า กระโดดตบ กระโดดเชือก สลับไปมา ตามความถนัด
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป
ไขมันเริ่มสลายเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป