ต้อนขี่จักรยานคุณเคยสังเกตไหมว่า การออกตัวจะยากกว่าการขี่หลังจากล้อเริ่มหมุน หรือเคยสงสัยไหมว่าอะไรทำให้จักรยานคุณเคลื่อนที่ได้ หรือทำไมมันถึงแล่นไปข้างหน้าแทนที่จะถอยหลังหรือเลื่อนไปด้านข้างแทน จริงๆก็ไม่มีใครรู้หรอกจนกระทั่งศตวรรษที่ 17 เมื่อไอแซกนิวตันอธิบายถึงกฎการเคลื่อนที่ของวัตถุจนเราเข้าใจคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อนั้น ซึ่งที่นิวตันค้นพบก็คือวัตถุต่างๆจะรักษาสภาวะของสิ่งที่มันกำลังทำอยู่ ถ้าเกิดจักรยานคุณหยุดอยู่กับที่ มันจะยังคงอยู่กับพี่อย่างนั้นและเมื่อมันเคลื่อนที่มันก็คงจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ วัตถุที่เคลื่อนจะรักษาสภาวะการเคลื่อนที่เอาไว้ วัตถุที่หยุดนิ่งก็จะรักษาสภาวะที่หยุดนิ่งต่อไป นั่นคือกฎกการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 นักฟิสิกส์เรียกมันเท่ๆว่ากฎของความเฉื่อยโดยธรรมชาติและวัตถุกำลังเคลื่อนที่จะไม่เพิ่มหรือลดความเร็วหรือเปลี่ยนทิศทางเอง คุณต้องเอาชนะแรงเฉื่อยนี่เองในการทำให้จักรยานคุณแล่น ทีนี้รู้แล้วนะว่าคุณต้องเอาชนะแรงเฉื่อยเพื่อทำให้จักรยานเล่นได้ แต่อะไรทำให้คุณเอาชนะแรงเฉื่อยได้ล่ะ คำตอบถูกอธิบายด้วยกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 2 ซึ่งกล่าวไว้ในรูปแบบสมการคณิตศาสตร์ว่า แรงเป็นผลมาจากมวล x ความเร่ง การทำให้วัตถุเกิดความเร็วเพิ่มความเร็ว คุณต้องออกแรง ยิ่งออกแรงมากเท่าไหร่ความเร่งก็มากขึ้นเท่านั้น และยิ่งมวลของพระจักรยานมีมากเท่าไหร่ ซึ่งรวมถึงมวลของตัวคุณด้วยก็ยิ่งต้องออกแรงมากขึ้นในการทำให้เกิดความเร่งในอัตราเดียวกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจักรยานหนัก 4,500 กิโลกรัมถึงถีบได้ยากนัก เพราะคุณต้องใช้แรงจากฐานในการถีบจักรยานเพื่อเอาชนะแรงเฉื่อยของนิวตัน ยิ่งคุณถีบลงไปหนัก แรงก็จะยิ่งมากและก็ยิ่งออกตัวเร็วขึ้นเช่นกัน
ที่นี้มาดูคำถามสุดท้ายหลังจากออกตัวแล้วทำไมมันถึงเล่นไปข้างหน้าล่ะ จากกฎการเคลื่อนที่ข้อ 3 ของนิวตันทุกแรงกริยาจะเกิดแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันในที่ตรงกันข้าม ลองนึกถึงเวลาคุณปล่อยลูกบอลตกลงมาในขณะที่บอลกระทบกับพื้น มันจะทำให้เกิดแรงกระทำต่อพื้นนี่คือแรงกริยา ส่วนพื้นก็จะตอบสนองด้วยการผลักบอลกลับด้วยแรงเท่ากัน แต่ได้ที่ตรงกันข้ามทำให้บอลกระเด้งกลับมาที่คุณ
แรงทั้งสองร่วมกันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าคู่แรงกริยากับแรงปฏิกิริยา เมื่อเอามันมาใช้กับจักรยานคุณอาจฟังดูยุ่งยากเล็กน้อย คือขณะที่รถจักรยานหมุนตามเข็มนาฬิกาหน้ายางสัมผัสกับพื้นก็จะออกแรงผลักพื้นโลกไปข้างหลัง นั่นคือแรงกริยาส่วนพื้นโลกก็จะออกแรงผลักไปข้างหน้า กระทำต่อยางล้อแต่ละเส้นนั่นคือแรงปฏิกิริยา เมื่อยาง 2 เส้นเล็กๆของคุณเกิดคู่แรงกริยากับแรงปฏิกิริยากับพื้นโลกซึ่งใหญ่มากๆ โลกจึงแทบไม่ขยับจากแรงที่ล้อจักรยานคุณพระมันไปด้านหลัง แต่คุณกับถูกเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley
กฏ 3 ข้อของนิวตันกับจักรยาน - Joshua Manley