วิธีง่ายๆสำหรับการดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เริ่มด้วยการดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตรหรือประมาณ 8-10 แก้ว น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยในการขับถ่ายสารพิษจากการเผาผลาญ นอกจากนี้แล้วยังช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้น ไตทำงานดีขึ้น ช่วยควบคุมความอยากอาหารทำให้รู้สึกสดชื่นมีพลัง เมื่อดื่มน้ำมากเพียงพอจะทำให้ความอยากดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูงเช่น โซดา น้ำหวานชนิดต่างๆลดลง
รับประทานอาหารอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น เริ่มแรกเราควรที่จะทราบว่าในหนึ่งวันร่างกายของเราต้องการพลังงานที่แคลอรี่เท่าไหร่ โดยทั่วไปนั้นผู้ชายต้องการพลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรีผู้หญิงต้องการพลังงานประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี แต่ถ้าเป็นผู้ที่ทำงานหนักหรือนักกีฬาจะต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอีก
รับประทานอาหารเช้าโดยเน้นอาหารโปรตีนและธัญพืชเป็นอาหารเช้าสุขภาพที่ดี แทนที่จะรับประทานโดนัทและอาหารที่มีแคลอรี่สูง ควรเปลี่ยนมาเป็นไข่ผลไม้ นม รับประทานซีเรียลที่มีไฟเบอร์สูง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกมือ ถ้าในจานของคุณมีผักและผลไม้นั้นแสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว คุณควรมีอาหารโปรตีน ธัญพืช อาหารไขมันต่ำ ไขมันที่มีประโยชน์เช่นไขมันจากปลาแซลมอนและปลาทูน่า ผลอะโวคา ถั่ว น้ำมันมะกอก
ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อและควรรับประทานอาหารเย็นไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน พยายามหลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยวในตอนกลางคืน เพื่อไม่ให้แคลอรี่เพิ่ม ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน ควรรับประทานซีเรียลที่มีไฟเบอร์สูงผลไม้และผัก น้ำเต้าหู้หรือนมไขมันต่ำ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดและช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้นด้วย ควรเพิ่มไฟเบอร์ในแต่ละวันให้มากขึ้นเช่นเติมซีเรียลในอาหารเช้า เปลี่ยนจากรับประทานข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท ควรเพิ่มผักผลไม้ ถั่วให้มากขึ้น ควรรับประทานผลไม้ 2 ผลต่อวันโดยมีขนาดเท่าจานรองถ้วยกาแฟ
จัดการอย่างไรใส่ใจสุขภาพสูตร 2-1-1 ผัก 2 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน ข้าว 1 ส่วน เพียงหนึ่งจานอาหารครบถ้วน เพิ่มผักหลากสีผลไม้สดไม่หวานวันละ 2 จานรองถ้วยกาแฟ เพื่อสุขภาพที่ดีนั้น เราควรที่จะลดหวานเช่นน้ำตาล ลดมันเช่นอาหารทอด แกงกะทิ เนื้อติดมัน ลดเค็มเช่นไม่ใส่เครื่องปรุงเพิ่ม
ปรุงแบบใดปลอดภัยกับตัวเราสูตร 6-6-1 น้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน น้ำมัน 6 ช้อนชาต่อวัน เกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน สุขภาพที่ดีขึ้นควรเลือกเช็คฉลากทุกครั้งเมื่อต้องใช้อาหารสำเร็จรูป
1. เช็คปริมาณไขมันและไขมันอิ่มตัว
2. ใช้พลังงานต่อหน่วยบริโภค
3. เช็คปริมาณน้ำตาล
4. เช็คปริมาณโซเดียม
เพื่อนำไปคำนวณดูว่าปริมาณอาหารทั้งหมดที่เรารับประทานเข้าไปว่ามีชนิดใดที่เกินปริมาณที่ควร
เมื่อทราบว่าเราควรรับประทานอาหารในปริมาณเท่าใดในแต่ละวันแล้ว เราควรที่จะทราบว่าน้ำหนักตัวของเราที่เหมาะสมควรเป็นเช่นใด จากการหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI เท่ากับน้ำหนักตัวหารส่วนสูงยกกำลัง 2 เช่นถ้ามีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร BMI จะเท่ากับ 50 หารด้วย 1.6 ยกกำลัง 2 หรือ 2.56 จะเท่ากับ 19.53 ซึ่งสัดส่วนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่ค่าที่เหมาะสมคือ 18.5 ถึง 24.9
ในแต่ละวันเราควรที่จะให้เวลาตัวเองด้วยกันออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย ในคนที่มีสุขภาพดีควรออกกําลังกายให้ได้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที หากยังไม่ได้เริ่มหรือกำลังเริ่มต้นควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์และไม่ควรหยุดออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 2 วัน แต่ทั้งนี้คุณมีกิจกรรมทางกายเช่นทำงานบ้านอย่างสม่ำเสมอทุกวัน การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสะดวกที่สุด สามารถปฏิบัติได้บ่อยครั้ง ในแต่ละวันคนเดินให้ได้อย่างน้อย 10,000 ก้าวเพื่อสะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที การแกว่งแขนเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทุกที่และทุกวัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีการแกว่งแขนที่ถูกวิธีโดยให้ยืนตรง เปิดแกว่งแขนมาด้านหน้า 30 องศาและแกว่งแขนไปด้านหลัง 60 องศา
การเล่นโยคะด้วยการออกกำลังกายอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเพราะมีผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อต่างๆและผ่อนคลาย ลดความเครียดจากการทำงาน รวมถึงการฝึกกำหนดลมหายใจหรือลมปราณอีกด้วย
ในทุกช่วงอายุแนะนำให้ออกกำลังกายตามชนิดกีฬาที่ชื่นชอบและเหมาะสมกับเวลาสถานที่หรือสมรรถนะของกำลังกล้ามเนื้อในแต่ละบุคคล โดยอายุ 5 - 17 ปีแนะนำการออกกำลังกายขนาดปานกลางถึงหนักทุกวันอย่างน้อยวันละ 60 นาที เน้นเป็นการออกกำลังกายที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเต็มที่ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์อายุ 18 - 64 ปีแนะนำการออกกำลังกายขนาดปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายอย่างหนักอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นการออกกำลังกายที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเต็มที่ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาทีและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อายุ 65 ปีขึ้นไปแนะนำการออกกำลังกายเหมือนช่วงอายุ 18 - 64 ปี โดยให้เพิ่มเติมกิจกรรมที่ส่งเสริมความแข็งแรงในการทรงตัวป้องกันการลื่นตกหกล้มอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
เพียงแค่การดูแลตนเองอย่างถูกวิธีใส่ใจเลือกอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีตลอดไป
ตั้งแต่ 10 ต.ค. 2563 15:07 ถึง 10 ต.ค.
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้
เคล็ดลับสุขภาพดี เริ่มต้นดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้