คนเราเชื่อกันอย่างผิดๆมายาวนานว่าเราใช้สมองแค่ร้อยละ 10 อีกร้อยละ 90 อยู่เฉยๆแค่มีไว้สำรอง นักโฆษณาโม้ว่าช่วยปลดศักยภาพที่ซ่อนอยู่ได้ด้วยวิธีทางประสาทวิทยาศาสตร์ แต่สิ่งที่ถูกปลดปล่อยออกมาจริงๆก็แค่เงินในกระเป๋าคุณ คนทั่วไป 2 ใน 3 และครูวิทยาศาสตร์เกือบครึ่งหลงเชื่อในเรื่องโกหกนี้
ในช่วงทศวรรษ 1890 วิลเลียมเจมส์บิดาแห่งจิตวิทยาอเมริกันกล่าวว่า พวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ศักยภาพทางสมองอย่างเต็มที่เจมส์ตั้งใจพูดเพื่อท้าทาย ไม่ได้กล่าวหาว่าสมองถูกใช้น้อย แต่คนกลับเข้าใจผิดตามนั้น ประกอบกับนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาอีกนานกว่าจะเข้าใจว่าเรามีสมองกลีบหน้าขนาดยักษ์หรือบริเวณกว้างของสมองตีบข้างไว้เพื่ออะไร ความเสียหายไม่ทำให้การสั่งการหรือการรับความรู้สึกบกพร่อง ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่าสมองเหล่านี้ไม่มีหน้าที่อะไร เป็นสิบสิบปีที่สมองส่วนนี้ถูกเรียกว่าบริเวณเงียบ ไม่ทราบหน้าที่ที่แน่ชัด ภายหลังเราจึงทราบว่าสมองส่วนนี้เสริมเน้นความสามารถในการตัดสินใจและผนวกข้อมูล ถ้าขาดไปแล้วเราคงไม่เป็นมนุษย์ สมองส่วนที่สำคัญต่อการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม การวางแผน การชั่งน้ำหนักการตัดสินใจ และการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ
แนวคิดที่ว่า 9 ใน 10 ของสมองอยู่เฉยๆในกะโหลกฟังดูไม่เข้าท่าเมื่อคำนวณดูว่าสมองใช้พลังงานมากแค่ไหน สมองของสัตว์ฟันแทะและสุนัขใช้พลังงานร้อยละ 5 จากพลังงานร่างกายทั้งหมด สมองของลิงใช้ร้อยละ 10 สมองของผู้ใหญ่ซึ่งคิดเป็นแค่ร้อยละ 2 ของมวลกายเช่นกลูโคสที่เผาผลาญในแต่ละวันถึงร้อยละ 20 สำหรับเด็กเลขตัวนี้สูงถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 60 สำหรับทารก มากกว่าที่คาดไว้มากเมื่อเทียบกับขนาดของสมองซึ่งมีสัดส่วนตามขนาดร่างกาย
สมองมนุษย์หนัก 1.5 กิโลกรัม สมองช้าง 5 กิโลกรัม และสมองปลาวาฬ 9 กิโลกรัม แต่ถ้าเทียบต่อน้ำหนักสมองมนุษย์มีเซลล์ประสาทอัดแน่นกว่าสายพันธุ์อื่น เซลประสาทที่อัดแน่นกันนี่แหละที่ทำให้เราฉลาด แต่ทั้งนี้ขนาดร่างกายก็จำกัดจำนวนเซลล์ประสาทที่พวกไพรเมตซึ่งรวมพวกเราด้วยจะหล่อเลี้ยงไหว ลิงไร้หาง 25 กิโลกรัมต้องกิน 8 ชั่วโมงต่อวันเพื่อบำรุงเลี้ยงสมองที่มีเซลล์ประสาท 53,000 ล้านเซลล์
การคิดค้นวิธีปรุงอาหารให้สุกเมื่อ 1.5 ล้านปีก่อน ทำให้เรามีข้อได้เปรียบมหาศาล อาหารที่ปรุงสุกจะอ่อนนุ่มและถูกย่อยมาบ้างแล้วนอกร่างกาย ลำไส้ของเราจึงดูดซึมพลังงานได้ง่ายขึ้น อาหารปรุงสุกทำให้เรามีเวลาและให้พลังงานมากกว่าการกินอาหารดิบดิบ เราจึงบำรุงในสมองที่อัดแน่นด้วยเซลล์ประสาท 86,000 ล้านเซลล์ได้ ซึ่งมากกว่าสมองลิงไร้หางร้อยละ 40
สมองทำงานดังนี้ แคลอรี่ครึ่งหนึ่งที่สมองเผาผลาญนำไปใช้รักษาโครงสร้างสมองให้สมบูรณ์ ด้วยการสูบประจุโซเดียมและโพแทสเซียมผ่านเยื่อเพื่อรักษาประจุไฟฟ้า จะทำเช่นนี้ได้สมองต้องสวาปามพลังงาน สมองใช้ ATP มากถึง 3.4 * 10 ^ 21 โมเลกุลต่อนาที ATP เป็นเหมือนถ่านหินให้กับเตาไฟของร่างกาย ต้องใช้ต้นทุนสูงเพื่อรักษาศักดิ์ ระยะพักในเซลล์ประสาททั้ง 86,000 ล้านเซลล์ ทำให้เหลือพลังงานน้อยนิดในการส่งสัญญาณไปตามแอคซอนและข้าม synapse การคายประจุนี้นี่แหละคือการทำงานของสมองแบบจริงๆ ต่อให้มีเซลล์ประสาทคิดเป็นสัดส่วนนิดเดียวส่งสัญญาณในบริเวณหนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง พลังงานที่ต้องใช้สร้างกระแสประสาทให้ทั่วสมองก็มากเกินกว่าสมองจะหาได้ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานจึงเข้ามามีบทบาท การทำให้เซลจำนวนน้อยส่งสัญญาณ ณ เวลา เวลาหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันว่าการส่งสัญญาณกระจายใช้พลังงานให้น้อยที่สุด แต่ส่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด เนื่องจากสัญญาณพิมพ์น้อยนิดก็มีวิถีประสาทที่กระจายสัญญาณไปได้นับพัน จุดอ่อนของการส่งสัญญาณกระจายเมื่อมีเซลล์ประสาทจำนวนมหาศาลคือต้นทุนที่ต้องใช้ แย่ไปกว่านั้นถ้าเซลล์จำนวนมากไม่ส่งสัญญาณเลยก็จะกลายเป็นของที่ไม่จำเป็นและวิวัฒนาการก็ควรกำจัดทิ้งนานแล้ว ทางออกคือการหาสัดส่วนเซลล์ที่พอเหมาะที่สมองสั่งการงานได้ในขณะหนึ่งหนึ่ง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีเซลล์ร้อยละ 1-16 ทำงานอยู่ในชั่วขณะหนึ่งหนึ่ง นี่คือขีดจำกัดด้านพลังงานที่เราต้องยอมรับสภาพเพื่อทำให้เรารู้สึกตัวอยู่ได้ความจำเป็นต้องรักษาพลังงานเป็นเหตุผลให้การทำงานส่วนใหญ่ของสมองต้องอยู่ใต้จิตสำนึกและเป็นเหตุผลที่เราทำหลายๆอย่างพร้อมกันไม่ได้ เราไม่มีพลังงานพอจะทำกิจกรรม 2 อย่างพร้อมกัน ยิ่ง 3 หรือ 5 อย่าง ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ถ้าเราฝืน เราจะทำแต่ละอย่างได้แย่ลงกว่าที่เราใส่ใจอย่างเต็มที่ ยิ่งทำหลายอย่างผลยิ่งแย่ สมองเราทั้งฉลาดและทรงพลัง ทรงพลังเสียจนต้องการพลังงานมหาศาลเพื่อคงความทรงพลังนั้นไว้ ทั้งอย่างฉลาดมากจนมีแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในตัว ดังนั้นอย่าปล่อยให้คำหลอกลวงทำให้คุณรู้สึกผิดว่าสมองคุณขี้เกียจ รู้สึกผิดไปก็เปลืองพลังงานเปล่า จากทั้งหมดนี้คุณไม่ต้องหนักหรือว่าเราไม่ควรใช้พลังงานสมองอย่างสูญเปล่า คุณมีเซลล์ประสาทที่จะหาพลังงานเป็นพันๆล้านเซลต้องดูแลดังนั้นจงลงมือเสีย
คุณใช้สมองกี่เปอร์เซนต์ แล้วคุณใช้สมองได้เต็มประสิทธิภาพแค่ไหน