มีสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนโลกของเรา มันเป็นตัวการที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก และยังกรุยทางให้สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนกว่า เป็นไปได้อย่างไรนั้นหรือ โดยการปล่อยโมเลกุลออกซิเจนโมเลกุลแรกเข้าสู่บรรยากาศของเราและพวกมันก็ทำได้แม้ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวก มันคือไซยาโนแบคทีเรีย และเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายนี้ ที่ไม่มีแม้แต่นิวคลีไอหรือออร์แกเนลล์อื่น เป็นหน้าสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเรื่องราวสิ่งมีชีวิตบนโลก
บรรยากาศของโลกไม่ได้มีส่วนผสมที่เต็มไปด้วยออกซิเจนอย่างที่เราหายใจในตอนนี้ 3.5 พันล้านปีก่อน บรรยากาศของเราส่วนใหญ่ประกอบด้วยไนโตรเจนได คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ออกซิเจนเกือบทั้งหมดเก็บกักไว้ในโมเลกุลอย่างเช่นน้ำ ไม่ได้ล่องลอยอยู่ในอากาศ มหาสมุทรนั้นก็จะมี พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เรียบง่ายที่ไม่ต้องการออกซิเจนและได้พลังงานจากการย่อยสลายโมเลกุลที่พวกมันหามาได้
แต่ในช่วงเวลาระหว่าง 2.5 ถึง 3.5 พันล้านปีก่อน หนึ่งในจุลชีพเหล่านี้ ที่อาจล่องลอยอยู่บนพื้นผิวมหาสมุทร มีวิวัฒนาการความสามารถใหม่ซึ่งก็คือการสังเคราะห์แสง โครงสร้างในเยื่อหุ้มเซลล์ของพวกมันสามารถที่จะเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำไปเป็นก๊าซออกซิเจนและน้ำตาล ซึ่งพวกมันนำไปใช้เป็นพลังงานได้ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นบรรพบุรุษของสิ่งที่ตอนนี้เราเรียกว่าไซยาโนแบคทีเรีย สีออกฟ้าของพวกมันมาจากเม็ดสีฟ้าเขียวที่เก็บพลังงานแสงแดดที่พวกมันต้องการ
การสังเคราะห์แสงทำให้แบคทีเรียโบราณนี้มีข้อได้เปรียบเหนือสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์อื่นๆ พวกมันสามารถสร้างพลังงานให้ตัวเองได้ จากแหล่งวัตถุดิบที่แทบไม่มีทั้งหมดไป ฉะนั้นประชากรของพวกนั้นจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและพวกมันก่อสร้างมลพิษให้กับบรรยากาศด้วยของเสียของพวกมัน ซึ่งก็คือออกซิเจนตอน แรกออกซิเจนที่มาคืนถูกดูดซับไปด้วยปฏิกิริยาเคมีกับเหล็กหรือเซลล์ที่กำลังถูกย่อยสลาย แต่หลังจากเวลา 2-300 ล้านปี ไซยาโนแบคทีเรียผลิตออกซิเจนได้รวดเร็วกว่าที่ดูดซับไปได้ และก๊าซก็เริ่มก่อตัวขึ้นในบรรยากาศ มันเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลก อากาศที่มีออกซิเจนมากเป็นพิษต่อพวกมัน แล้วผลหรือ
ประมาณ 2.5 พันล้านปีก่อนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของชีวิตบนโลก ซึ่งก็ไม่เว้นแม้กระทั่งไซยาโนแบคทีเรีย นักธรณีวิทยาเรียกกันว่าเหตุการณ์ผลิตออกซิเจนครั้งใหญ่หรือมหันตภัยออกซิเจน นั่นไม่ใช่เพียงปัญหาเดียวที่ มีเทนที่ทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกเคยทำให้โลกอบอุ่น แต่ตอนนี้ออกซิเจนที่มากขึ้นทำปฏิกิริยากับมีเทนเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งไม่เก็บกักความร้อน ชั้นบรรยากาศที่เบาบางลงทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้งที่ยาวนานที่สุดเรียกว่ายุค ฮูโรเนียน เกลซีเอชั่น โลกเป็นเหมือนบัวหิมะขนาดใหญ่เป็นเวลา 2-300 ล้านปีใน ที่สุดสิ่งมีชีวิตก็ปรับตัว
สิ่งมีชีวิตแอโรบิคที่ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงานเริ่มที่จะดูดซับก๊าซมากเกินไปในชั้นบรรยากาศ ความเข้มข้นของออกซิเจนเพิ่มสูงขึ้นและลดลงจนกระทั่งมันอยู่ที่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และการที่มันใช้พลังงานเคมีในออกซิเจนทำให้สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายอย่างที่มันต้องการได้มากขึ้นและมีวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบที่ซับซ้อน ไซยาโนแบคทีเรีย มีส่วนสำคัญในเรื่องราวนี้เช่นกัน หลายร้อยล้านปีก่อนจุลชีพ ก่อนประวัติศาสตร์บางชนิดกินไซยาโนแบคทีเรียเข้าไปทั้งตัวในกระบวนการที่เรียกว่า endosymbiosis เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น จุลชีพได้มาซึ่งโรงงานสังเคราะห์แสงของตัวเอง นี่เป็นบรรพบุรุษของเซลล์พืช ไซยาโนแบคทีเรียกลายเป็นคลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงในปัจจุบันนี้ ไซยาโนแบคทีเรียยังคงมีอยู่ทุกที่ในสิ่งแวดล้อมโลก มหาสมุทร แหล่งน้ำจืด ดิน หินที่บริเวณขั้วโลกใต้ ขนตัวสลอธ พวกมันยังคงปล่อยออกซิเจนเข้าไปในบรรยากาศและยังดึงไนโตรเจนออกมาเพื่อเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ที่พวกมันช่วยสร้างขึ้น ชีวิตบนโลกอาจไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีพวกมัน แต่ก็เพราะพวกมันเช่นกันเกือบจะปราศจากสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเกือบจะทำลายล้างชีวิตบนโลกได้อย่างไร